ประวัติครอบครัวแฟรี่
- จุดเริ่มต้นของประสบการณ์, การสร้างครอบครัว, สู่ความเป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็ก ช่วง “ก่อน” พ.ศ. 2491
– คุณวรพงษ์ พัฒนพีระเดช เกิดที่ประเทศไทยในครอบครัวที่อพยพมาจากประเทศจีนมาตั้งรกรากในจังหวัดขอนแก่น
– เมื่อเติบโตเป็นวัยรุ่น คุณวรพงษ์เริ่มต้นเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทํางานในร้านค้า “เหล่าเตียงเฮง” ของพี่สาว
– หลังจากบิดาและพี่น้องย้ายกลับบ้านเกิดที่ประเทศจีน คุณวรพงษ์และมารดายังคงอยู่ที่ประเทศไทยต่อไป
– คุณวรพงษ์ในวัย 18 ปีสมรสกับคุณ ซิว ภรรยาวัย 17 ปี ช่วงพ.ศ. 2491-2495
– คุณวรพงษ์เริ่มต้นทํางานเป็นหลงจู๊ (ผู้จัดการ) ให้ร้าน “กิมฮง” ห้างที่ใหญ่ที่สุดในขอนแก่นตอนนั้น
– หลังจากนั้นไม่นาน คุณวรพงษ์ได้ใช้ความรู้ประสบการณ์ที่ได้มาในการเปิดร้านค้า “ฮั่วหลี” เป็นของตัวเอง ทํากิจการ ขายส่งโดยมีคุณซิว ภรรยาเป็นผู้ดูแล
พ.ศ. 2496 คุณ ซิวให้กำเนิด “คุณโฉมสุดา” บุตรสาวคนโตของตระกูล
พ.ศ. 2498 คุณซิวให้กําเนิด “คุณสมชาย” บุตรชายคนโตของตระกูล
พ.ศ. 2500 คุณซิวให้กำเนิด “คุณโฉมสุรีย์” บุตรสาวคนรองของตระกูล
พ.ศ. 2502 คุณบัวให้กำเนิด “คุณโฉมณี” บุตรสาวคนเล็กของตระกูล
พ.ศ. 2504 คุณสมชาย บุตรชายคนโตเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุในวัย 6 ขวบ
พ.ศ. 2506 คุณ ซิวให้รําเนิด “คุณพีระพล” บุตรชายคนโตคนใหม่ของตระกูล
– คุณวรพงษ์ออกจากงานหลงที่กิมฮง กลับมาช่วยคุณชิวดูแลกิจการของตัวเองที่ฮั่วหลี
พ.ศ. 2509 คุณซิวให้กําเนิด “คุณนพดล” บุตรชายคนรองของตระกูล
– ในช่วงปีนั้น คุณวรพงษ์มีความคิดขยายกิจการให้ใหญ่โตยิ่งขึ้น จึงไปขอเช่าที่ใหม่จากเถ้าแก่ร้านกิมฮงที่เคยทํางานให้
– ด้วยเหตุนี้ ร้านฮั่วหลีจึงปิดตัวลงหลังจากที่คุณวรพงษ์เปิดร้านค้าใหม่ชื่อ “แฟรี่”
(เรียกกันในภายหลังว่า “แฟรี่ศรีจันทร์”)
“แฟรี่ศรีจันทร์ในตอนนั้นขายสินค้าจําพวกรองเท้ายี่ห้อ, กางเกงยีนยี่ห้อ, ฯลฯ
พ.ศ. 2510 คุณชิวให้กําเนิด “คุณธราดล” บุตรชายคนที่สามของตระกูล
พ.ศ. 2511 คุณซิวให้ก๋าเนิด “คุณชัยณรงค์” บุตรชายคนสุดท้องของตระกูล
ช่วงปีพ.ศ. 2511 – 2515
– กิจการร้านค้าแฟรี่ศรีจันทร์ดีขึ้นตามลําดับ ขยายหน้าร้านใหญ่ขึ้นเป็น 2 เท่า ปรับเปลี่ยนรูปแบบจากค้าส่งอย่างเดียว มาเป็นค้าปลีกด้วย (ค้าส่งอยู่หลังร้าน ค้าปลีกอยู่หน้าร้าน)
– ไม่นานหลังจากนั้น มีตัวแทนจากแบรนด์รองเท้าบาจาเข้ามาติดต่อ จนคุณวรพงษ์ตัดสินใจเปิดร้านค้าใหม่ “นิวแฟรี่”
ขึ้นอีกแห่งเพื่อขายรองเท้า BATA โดยเฉพาะรหัส สินค้า ลิขสิทธิ์ทำประโยชน์
– นิวแฟรี่มีคุณโฉมสุดาบุตรสาวคนโตเป็นผู้ดูแล ระบบการทํางานทุกอย่างเป็นทางบาจาเข้ามาจัดระเบียบไว้ให้
พ.ศ. 2516 คุณโฉมสุรีย์บุตรสาวคนรองเริ่มเข้ามาช่วยงานกิจการของครอบครัว โดยช่วงเวลาเดียวกันนั้นได้เรียนตัด
เสื้อไปด้วย
พ.ศ. 2517 แฟรี่ศรีจันทร์ซื้อห้องคูหาข้างๆเพิ่มเพื่อขยายกิจการร้าน วางระบบใหม่ทํางานเป็นรูปแบบห้างร้านโดยสมบูรณ์ แบ่งการทํางานเป็นแผนก มีหัวหน้าแผนกดูแลจัดการงาน ในส่วนนี้ได้คุณโฉมสุดาเข้ามาช่วยงานเต็มตัว
– นิวแฟรี่เองในช่วงเวลานั้นก็ได้คุณโฉมสุรีย์เข้ามาดูแลแทน
พ.ศ. 2518 นิวแฟรี่เริ่มนําเสื้อผ้าแบรนด์จากกทม.เข้ามาขาย คุณโฉมสุดาใช้โอกาสนี้ในการขายเสื้อผ้าที่ออกแบบเองด้วย โดยมี คุณโฉมสุรีย์เป็นคนตัดผ้าตามแบบ จึงมีจุดเด่นเรื่องดีไซน์ที่ไม่ซ้ําใคร
- ก้าวแรกสู่ความเป็นห้างสรรพสินค้า
พ.ศ 2520 ในช่วงปีนั้น เถ้าแก่ร้านกิมฮงที่คุณวรพงษ์เคยทํางานให้มีกิจการมากมายหลายอย่างที่หามายาวนานหลายปี
ทั้งห้างง่วนกิมฮง และร้านขอนแก่นโลหะกิจที่ขายวัสดุก่อสร้าง
– แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง เถ้าแก่ร้านกิมฮงคิดอยากเลิกกิจการทุกอย่างเพื่อย้ายถิ่นฐานไปกทม. ด้วยความที่ไม่มีลูกหลานคนใด คิดสืบทอดกิจการ เถ้าแก่ร้านกิมฮงจึงตั้งเสนอขายกิจการ ราคาขายอยู่ที่ 2.2 ล้านบาท แยกออกเป็นค่าพื้นที่ (ห้องแถว 9 ห้อง) 1.6 ล้านบาท กับค่าสินค้าเก่ามูลค่าอีก 6 แสนบาท
– เถ้าแก่คนอื่นๆในขอนแก่นไม่มีใครสนใจข้อเสนอนี้ เพราะไม่อยากได้สินค้าเก่าค้างสต็อคพ่วงติดมาด้วย แต่คุณบัวผู้เป็น ภรรยามองข้อเสนอนี้เป็นโอกาสดีที่ได้สินค้าพ่วงมาขายต่อเนื่องได้เลยทันที จึงสนับสนุนให้คุณวรพงษ์ตกลงซื้อเพื่อ
ขยายกิจการครอบครัวให้เติบโต
– ในตอนแรก คุณวรพงษ์ไม่มีเงินมากพอที่จะชําระจ่าย 2.2 ล้านบาทได้ในทันที แต่ได้คุยกับเถ้าแก่ไว้ว่าสามารถค่อยๆ ผ่อนชําระได้ จึงเริ่มนําสินค้าจากกทม.เข้ามาขายไปพร้อมๆกับขายสต็อคเก่าไปด้วยจนเคลียร์ได้เกือบหมด ช่วงนั้น ขายดีมากจนต้องปิดร้านขายไม่ให้ลูกค้าเข้ามาเพิ่ม ให้ออกอย่างเดียว ยอดขายพุ่งสูงถึงจนถึงหลักล้านภายในสองเดือน
พ.ศ. 2521 ในเดือนสิงหาคม ห้างสรรพสินค้าใหม่ได้ถือกําเนิดขึ้นในชื่อ “แฟรี่ทาวน์” คุณโฉมสุดารับหน้าที่หลักในการดูแล จัดการทั้งหมด โดยใช้ความรู้เรื่องระบบการออกบิลและเช็คสต็อคที่ได้มาจากห้างธาราที่โคราชและการไปดูงานที่ ห้างสรรพสินค้าในกทม.
ในการบริหารอย่างเป็นระบบ
– ช่วงเวลาเดียวกันนั้น กิจการแฟรี่ศรีจันทร์ยังคงดําเนินกิจการต่อไปโดยมีคุณวรพงษ์และคุณซิวเป็นผู้ดูแลจัดการ
เช่นเดียวกับกิจการนิวแฟรี่ที่มีคุณโฉมสุรีย์เป็นคนดูแล
-ผู้ที่มาชวยงานคุณโฉมสุดาในช่วงนั้นยังมีคุณศุภชัยและคุณนงลักษณ์ ญาติพี่น้องจากตระกูลเสถียรถาวรวงศ์ที่
ย้ายจากกทม.มาอยู่ขอนแก่นทั้งครอบครัว
– คุณวรพงษ์ร่วมทุนกับพรรคพวกเปิดกิจการ “โรงแรมแก่นอินน์” ซึ่งเป็นโรงแรมที่ดีที่สุดของจังหวัดขอนแก่นในเวลานั้น
(ทุนสร้าง 14 ล้าน ห้องพัก 186 ห้อง – ภายหลังขายต่อให้กลุ่มทุนใหม่ไปในปี 2559)
– ในเดือนธันวาคม คุณโฉมสุดาสมรสกับคุณอนุชา นักศึกษาที่มาเรียนรู้งานจากคุณวรพงษ์ในช่วงนั้น และย้ายไป อยู่ด้วยกันที่บ้านเกิดของคุณอนุชาที่อําเภอบ้านไผ่ เปิดกิจการร้านค้าแหลมทองบ้านไผ่
– ด้วยเหตุนี้ คุณโฉมสุรีย์จึงได้เข้ามาดูแลจัดการงานในแฟรี่ทาวน์แทน ส่วนกิจการนิวแฟรี่ก็ได้ส่งมอบให้เป็นสมบัติของ
คุณศุภชัยและครอบครัวเสถียรถาวรวงศ์ไป
พ.ศ. 2522 หลังสมรสได้หนึ่งปี คุณโฉมสุดาให้กําเนิด “คุณเอกลักษณ์ วโนทยาโรจน์” บุตรชายคนโต และยังคง
ใช้ชีวิตอยู่ที่อ่าเภอบ้านไผ่ต่อไป
พ.ศ. 2523 ยอดขายของแฟรี่ทาวน์ในช่วงปีนั้น สูงถึง 5-6 แสนบาท/วัน คิดเป็นกําไรสูงสุดอยู่ที่เดือนละราวๆ 2-3 แสนบาท
– ในช่วงที่เข้ามาบริหาร คุณโฉมสุรีย์เริ่มใช้นโยบายฝากขายเพื่อกระตุ้นยอดขาย โดยเริ่มต้นกับ supplier เจ้าเล็กๆก่อน พ.ศ. 2524 คุณพีระพล จบการศึกษาจากกทม. กลับมาช่วยงานกิจการครอบครัวระหว่างรอศึกษาต่อที่ประเทศสิงคโปร์ พ.ศ. 2525 หลังจากคุณพีระพลเข้ามาช่วยงานที่แฟรี่ศรีจันทร์ ได้ตรวจสอบจนพบว่าหลงจู๊(ผู้จัดการ)ที่ทํางานให้ครอบครัวแฟรี่ มานานยักยอกเงินกิจการ เกิดเป็นเรื่องราวใหญ่โตฟ้องร้องกันในศาล จนในที่สุดก็ชนะคดีสามารถเอาผิดทางกฎหมาย กับหลงจู๊คนนี้ได้ จากเหตุการณ์นี้ คุณพีระพลจึงไม่ได้ไปศึกษาต่อที่สิงคโปร์แต่อยู่ช่วยกิจการครอบครัวต่อไป
– คุณวรพงษ์และหุ้นส่วนธุรกิจรวม 8 คนซื้อที่ดินกิจการขอนแก่นบังกาโลมูลค่า 21 ล้านบาทเพื่อขายต่อเก็งกําไร ในช่วงนั้น
คุณโฉมณีบุตรสาวคนที่สามจบการศึกษาสาขาวิชากายภาพบําาบัดคณะแพทยศาสตร์ กําลังรอรับตําแหน่ง
อาจารย์ประจําภาควิชาฯในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างรอจึงได้เริ่มช่วยงานเล็กๆน้อยๆในแฟรี่ศรีจันทร์
พ.ศ. 2526
– คุณโฉมสุดาให้กําเนิด “คุณอลงกต วโนทยาโรจน์” บุตรชายคนที่สอง
– คุณพีระพลเริ่มบริหารจัดการแฟรี่ทาวน์อย่างเต็มตัว ริเริ่มกิจกรรมทางการตลาดและจัดทําโปรโมชั่นมากมาย
– คุณโฉมสุริย์จึงกลับไปช่วยคุณวรพงษ์และคุณชิวดูแลกิจการแฟรี่ศรีจันทร์
– คุณโฉมณีได้รับตําแหน่งอาจารย์ประจําภาควิชากายภาพบําาบัดในมหาวิทยาลัยขอนแก่นสมความตั้งใจ
- วิกฤตแรกของตระกูล, ความสูญเสีย, สู่ก้าวเดินที่ยิ่งใหญ่
พ.ศ. 2527 คุณโฉมสุรีย์ปรับปรุงกิจการแฟรี่ศรีจันทร์ใหม่ทั้งหมด โดยซื้อห้องเพิ่ม 1 คูหา ใช้ชื่อใหม่ว่า “จูวีไนล์” ขายสินค้าทั้ง กระเป๋า เสื้อผ้า รองเท้า ในแนวที่วัยรุ่นชอบ
– ค่าขวัญประจําร้านจูวีไนล์ในตอนนั้นใช้วิธีให้คนส่งประกวดคําขวัญผ่านทางรายการวิทยุ สุดท้ายเลือกได้คําขวัญเป็น “วัยรุ่นสะดุดตา จูวีไนล์สะดุดใจ”
– ในช่วงนั้น เมืองขอนแก่นทํามาค้าขึ้น ผู้คนต่างพากันน่าเงินมาเล่นแชร์ รวมกันแล้วทั้งเมืองมีวงแชร์ทั้งสิ้น มากกว่า 200 วง เถ้าแก่คนหนึ่งๆเล่นแชร์มากมายหลายสิบวง
– สุดท้ายเกิดการหมุนเงินไม่ทัน กลายเป็นแชร์ล้มต่อเนื่องทั้งกระดาน คุณวรพงษ์ที่เป็นผู้เซ็นค้ําประกันให้ คนรู้จักมากมายได้รับผลกระทบครั้งใหญ่
– ลูกหนี้จํานวนหนึ่งได้นําที่ดินที่ตัวเองมีมาชําระหนี้กับคุณวรพงษ์ แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการค้ําประกันยังคง ส่งผลต่อครอบครัวแฟรี่โดยรวมเป็นมูลค่าหลายล้านบาท เกิดเป็นวิกฤติการณ์ทางการเงินครั้งแรกของตระกูล
– ในปีนั้นที่ดินขอนแก่นบังกะโลถูกขายต่อมาจนถึงกลุ่มทุนล่าสุดที่ประกอบไปด้วยหุ้นส่วน 3 รายที่มีคุณวรพงษ์ เป็นหนึ่งในนั้น จากเหตุการณ์แชร์ล้มครั้งใหญ่ทําให้รายได้ไม่พอรายจ่าย เงินกู้ 20 ล้านบาทที่อัตราดอกเบี้ย 17%
กลายเป็นภาระหนักที่ตอกย้ําให้วิกฤติครั้งนั้นเลวร้ายหนักข้อยิ่งขึ้น
พ.ศ. 2528
– คุณพีระพลได้ขอนําเงินจํานวน 1.6 ล้านบาทไปเปิดลานสเก็ตตามกระแสนิยมในยุคนั้น โดยใช้หนึ่งในที่ดินผืนที่มีคนนํา มาชําระหนี้กับคุณวรพงษ์เป็นที่ตั้งกิจการ
– แต่ด้วยความที่คู่แข่งทําได้ใหญ่กว่า ดีกว่า กิจการลานสเก็ตของคุณพีระพลจึงต้องปิดตัวลงภายในเวลา 7 เดือน หาเงินรวมทั้งสิ้นได้เพียง 1 ล้านบาท (ขาดทุน 6 แสนบาท)
– ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน คุณพีระพลยังได้เปิดศูนย์อาหาร Hand in Hand (ห้องแถว 2 ห้อง ร้านอาหารรวม 10 กว่าร้าน) ด้วยต้นทุนประมาณ 4 แสน แต่กิจการนี้ก็ปิดตัวลงภายในเวลา 6 เดือน
– คุณวรพงษ์ได้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ไว้ว่า “ไม่เป็นไร อาปาจะได้รู้ว่าลูกไม่ได้เก่ง ส่วนลูกก็จะได้รู้ว่าอาปาไม่ได้รวย” เป็น บทเรียนของครอบครัวที่จะนําไปสู่ความไม่ประมาทในอนาคต
– ในช่วงกลางปีนั้น คุณชิวเข้าโรงพยาบาลตรวจพบเจอมะเร็งร้ายแรงที่ต่อมหมวกไต ทางครอบครัวตัดสินใจปิดไว้ไม่ให้
คุณชิวรู้เรื่องนี้เพื่อรักษากําลังใจไว้ทําการรักษาอย่างต่อเนื่อง
– จนถึงเดือนธันวาคม หลังจากการรักษาทุกอย่างเท่าที่ยุคสมัยนั้นท่าได้ไม่เป็นผลอีกต่อไป คุณชิวก็จากไปด้วยวัย 54 ปี พ.ศ. 2529
ธนาคารมหานครแบกรับภาระทางการเงินต่อไปไม่ไหวจนต้องเลิกกิจการ คุณวรพงษ์จึงสามารถเจรจาลดหนี้ที่ดิน ขอนแก่นบังกะโลจํานวน 28 ล้านให้ลดลงเหลือ 25 ล้านบาทได้สำเร็จ
– จากนั้นจึงชาระหนี้ก้อนนี้โดยใช้วิธีรีไฟแนนซ์ กู้ยืมเงินจากธนาคารกรุงเทพแทนเป็นจํานวน 45 ล้าน หลังจากใช้หนี้ 25 ล้านจึงยังมีเงินอีก 20 ล้านบาทไว้ลงทุนสร้างกิจการใหม่บนที่ดินผืนนี้
– คุณวรพงษ์ตัดสินใจเปิดกิจการห้างสรรพสินค้าแห่งใหม่ แต่ในตอนนั้นเงินทุนทั้งหมดที่มียังไม่เพียงพอ
– ด้วยความที่คุณวรพงษ์เป็นคนจิตใจกว้างขวาง จึงมีผู้ให้ความช่วยเหลือในการระดมทุนมากมายทั้งเจ้าสัว ICC, เจ้าของบริษัท Universe Beauty (เครื่องสําอางค์ Tell Me), และกลุ่มพรรคพวกที่ร่วมลงทุนท่าโรงแรมแก่นอินน์
– ในปีเดียวกันนี้ คุณโฉมสุดาให้กําเนิด “คุณภูมินทร์ วโนทยาโรจน์” บุตรชายคนสุดท้อง
พ.ศ. 2530 คุณวรพงษ์ต้องการให้คุณโฉมสุรีย์ไปช่วยงานในห้างสรรพสินค้าที่จะเปิดใหม่ กิจการร้านค้าจูวีไนล์จึงปิดตัวลง
กิจการห้างสรรพสินค้าแห่งใหม่ “แฟรี่พลาซ่า” เปิดตัวเป็นห้างที่มีบันไดเลื่อนเป็นแห่งแรกในขอนแก่น โดยมีคุณพีระพล
และคุณโฉมสุรีย์เป็นผู้บริหารจัดการงานทั้งหมด
– ในปีเดียวกันนี้ คุณนพดลบุตรชายคนรอง จบการศึกษาและทําวีซ่าเตรียมไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยในเมืองบัฟฟาโล่
ประเทศอเมริกา แต่เนื่องจากถูกเรียกตัวกลับไปช่วยงานครอบครัว จึงล้มเลิกเรื่องนี้ไป
– หลังจากนั้นคุณนพดล จึงได้เข้ามาช่วยงานกิจการของตระกูล เป็นผู้บริหารจัดการงานในแฟรี่ทาวน์
คุณโฉมณีจบการศึกษาปริญญาโทคณะเทคนิกการแพทย์ด้วยทุนที่ได้รับจากทางมหาวิทยาลัย
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น และกําลังอยู่ในช่วงท่างานใช้ทุนคืน
พ.ศ. 2531 ในช่วงแรก ยอดขายของแฟรี่พลาซ่าไม่ค่อยดีนัก ลูกค้าที่เข้ามาเดินส่วนใหญ่มาเพราะอยากเห็นบันไดเลื่อนมากกว่า แต่หลังจากนั้นก็ดีขึ้นเรื่อยๆจนครอบครัวแฟรี่เริ่มชําระหนี้สินที่มีได้
พ.ศ. 2532 ช่วงต้นปี คุณวรพงษ์สมรสใหม่กับคุณชนานาถ
– ช่วงปลายปี คุณโฉมสุรีย์สมรสกับคุณประสิทธิ์ชัย ทายาทตระกูลอนุพรรณสว่างจากจังหวัดอุบลราชธานี จึงย้ายไป อยู่ด้วยกันที่บ้านเกิดของคุณประสิทธิ์ชัยที่จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบกิจการร้านค้าศรีสมไทย
พ.ศ. 2533
– หลังจากที่ลูกค้าไปจับจ่ายซื้อของที่ห้างแฟรี่พลาซ่ามากขึ้น แฟรี่ทาวน์ก็มาถึงจุดที่ต้องปิดกิจการ โดยคุณนพดล เข้ามาช่วยงานที่แฟรี่พลาซาแทนในส่วนของงานฝ่ายการตลาด
– คุณพีระพล หลังจากได้เรียนรู้ know-how ต่างๆมากมายในการพบปะพูดคุยกับกลุ่มห้างสรรพสินค้าภูธร (PDS)
ก็ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาเทศบาลในปีนั้นเพื่อเริ่มก้าวเข้าสู่เส้นทางสายการเมืองท้องถิ่นตามที่ตั้งใจ
คุณธราดล บุตรชายคนที่สามที่ได้ไปศึกษาเล่าเรียนต่อที่ประเทศจีน กลับมาช่วยงานครอบครัวในสายงานด้านการบัญชี
แทนคุณโฉมสุรีย์ที่แต่งงานไปอยู่อุบลฯ
– คุณชัยณรงค์ บุตรชายคนสุดท้อง ในช่วงเทอมสุดท้ายของการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเอแบ็ค ได้เข้าทํางานเป็นระยะเวลา สั้นๆที่บริษัท CP Intertrade และได้ทํางานกับบริษัทส่งออกอาหารทะเลแปรรูป TK Foods ในเวลาต่อมา
– คุณโฉมณี ในช่วงที่ทํางานใช้ทุนให้ทางมหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสไปดูงานที่เมืองอินน์สบรูก ประเทศออสเตรีย และได้พบกับคุณเลิศชัย ว่าที่สามีที่นั่น
– คุณโฉมสุรีย์ให้กําเนิดบุตรสาว “คุณชญาภา อนุพรรณสว่าง”
พ.ศ. 2534
– คุณชัยณรงค์ออกจากงานที่ TK Foods กลับมาช่วยงานกิจการครอบครัว
– คุณพีระพลเปิดกิจการ “ผับ 123′ ใกล้ๆห้างแฟรี่พลาซ่า
– คุณโฉมสุรีย์ให้กําเนิดบุตรชาย “คุณปวีร์ อนุพรรณสว่าง
- รวมพลังพี่น้องแฟรี่, ขีดสุดแห่งความรุ่งเรืองก่อนจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่
พ.ศ. 2535
– คุณวรพงษ์เรียกตัวคุณโฉมณีให้กลับมาช่วยงานกิจการครอบครัว คุณโฉมณีจึงออกจากงานหัวหน้าภาควิชา เทคนิกการแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นก่อนใช้ทุนคืนครบจํานวน
– คุณวรพงษ์ไม่คิดอะไรที่ต้องจ่ายชดใช้เงินส่วนที่เหลือนี้คืนให้กับทางมหาวิทยาลัย กล่าวกับคุณโฉมณีว่า
“อาน้อยมาทํางานกับอาปา ทําเงินให้อาปาได้มากกว่าที่อาปาต้องจ่ายชดเชยให้มหาลัยอยู่แล้ว”
– คุณโฉมสุดาและคุณอนุชา เลิกกิจการร้านค้าแหลมทองบ้านไผ่ ย้ายจากนําเภอบ้านไผ่กลับสู่อําเภอเมืองขอนแก่น เพื่อเตรียมพร้อมช่วยงานกิจการครอบครัวแฟรี่ครั้งใหญ่ในฐานะผู้บริหารฝ่ายขาย และผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อ
– แฟรี่พลาซาขยายกิจการโดยสร้าง “โครงการสอง” ต่อยอดออกมาจากตัวห้างเดิม กลายเป็นห้างสรรพสินค้าสี่ชั้นที่มี สํานักงานอยู่ชั้นหัวและบ้านหลังใหญ่ของครอบครัวแฟรี่อยู่บนชั้นหกและเจ็ด
– ในช่วงนั้นกิจการห้างแฟรี่พลาซ่าโด่งดังจนติดอันดับห้างระดับต้นๆของประเทศ มีทั้งโรงหนังและฟาสต์ฟู้ด
แบรนด์ดังๆมากมายมาลง
– ผับ123 ของคุณพีระพลย้ายลงไปอยู่ชั้นใต้ดินบริเวณลานจอดรถ
– คุณนพดล อแฟรนไชส์โยเกิร์ต “โยเก้นฟรุต” มาทําเป็นกิจการส่วนตัวอยู่ในห้าง
พ.ศ. 2536
– คุณโฉมณีสมรสกับคุณเลิศชัย รองศาสตราจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และยังคงทํางานต่อไป ในแผนกการเงินของห้างแฟรี่
– คุณชัยณรงค์สมรสกับคุณละมัย คู่ชีวิตที่ดูใจกันมาตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษาด้วยกัน
– คุณพีระพลสมรสกับคุณอรวรรณ ทายาทตระกูลรักสุจริต เจ้าของธุรกิจราชากรุ๊ป
– ผับ123 ปิดตัวลงหลังจากกิจการดําเนินไปได้ไม่ดี คุณนพดลจึงร่วมทุนกับหุ้นส่วนเปิดเป็นผับใหม่ชื่อ “วิชเชอรี่” แทน
– คุณธราดลเปิดกิจการล้างรถ “แฟรี่คาร์แคร์” อยู่ที่ชั้นใต้ดินของห้าง บริเวณลานจอดรถ และยังมีร้านกิฟท์ช็อป “Gift House”
ที่ร่วมทุนกับหุ้นส่วนเปิดอยู่ในตัวห้างด้วย
– คุณโฉมณีร่วมหุ้นกับร้านช.ทวีเปิดกิจการฟิตเนส “Health Club” แต่กิจการดําเนินไปได้ไม่ดีนัก และเกิดเหตุการณ์ ยักยอกทรัพย์ของผู้จัดการที่จ้างมาดูแล จนต้องปิดตัวลงหลังจากนั้น
– คุณชัยณรงค์ให้คุณละมัย ภรรยาเข้ามาดูแลกิจการใหม่ ร้านอาหารไทย ‘แม่หญิง” ที่เปิดอยู่ในห้าง
– แฟรี่พลาซ่าเข้าร่วมหุ้นกับช่องเคเบิ้ลทีวี “ไทยสกาย” แต่ช่องนี้อยู่ได้แค่ไม่นานก็เลิกกิจการไป
– ครอบครัวแฟรี่ ซื้อคอนโด 1 ห้องเพื่อปล่อยเช่าที่เจริญทาวเวอร์
– ในช่วงปีนั้น คุณวรพงษ์ตรวจพบโรคไวรัสตับอักเสบเอ ซึ่งโดยหลักการแล้ว ไม่ต้องรับการรักษาใดๆเป็นพิเศษ แต่เป็นสัญญาณบอกถึงตับที่ไม่แข็งแรง (สันนิษฐานว่าเกิดจากความชอบกินยาสมุนไพรจีน)
พ.ศ.2537
– กลุ่มห้างสรรพสินค้าภูธร (PDS) ต่างพากันเข้าร่วมทุนกับห้างส่วนกลาง แฟรี่พลาซ่าเองก็คิดเห็นแบบเดียวกันและได้ เตรียมพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้ให้โรบินสันเข้ามาบริหารจัดการ
– แฟรี่ร่วมทุนกับบริษัท CPN ขอนแก่นซื้อที่ดินติดถนนมิตรภาพด้วยเงินทุน 150 ล้านบาท
(ภายหลังปรับเป็น 260 ล้านบาทในปี 2540)
– Big C ซุปเปอร์มาร์เก็ตเช่าที่ดินผืนนี้เปิดสาขาในขอนแก่น แฟรี่จึงลงทุน 14 ล้านบาทเพื่อร่วมหุ้นกับ Big C ขอนแก่น โดยใช้ชื่อจดทะเบียนสาขาว่า “บริษัทบิ๊ก แฟรี่จํากัด” ทุนจด 140 ล้านบาท (ภายหลังปรับเป็น 500 ล้านบาทในปี 2540)
– บิดาของคุณอรวรรณแนะนําที่ดินแปลงหนึ่งให้กับครอบครัวแฟรี่ ซึ่งที่ผืนนี้ได้กลายเป็นที่ตั้งของกิจการใหม่ในอนาคต
– ครอบครัวแฟรี่เริ่มทําธุรกิจอสังหาฯ “หมู่บ้านธารารมย์” โดยมีคุณธราดลเป็นคนบริหารจัดการ
-คุณนพดลร่วมทุนกับหุ้นส่วนเปิดกิจการร้านค้าแผ่น “เลเซ่อดิสค์” และร้านเบอเก้อ “ย้านขึ้น
– หลังจากนั้น คุณนพดลได้ไปฝึกงานที่โรบินสันสาขารัชดาเพื่อเตรียมพร้อมเรื่องการเข้าหุ้นกับทางโรบินสันในอนาคต
ส่วนงานแผนกการตลาดที่แฟรี่ได้คุณโฉมสุดาเข้ามาช่วยดูแลแทนควบคู่ไปกับงานฝ่ายขาย
– คุณโฉมณีให้กําเนิดบุตรสาว “คุณสิรีธร เจริญธัญรักษ์”
– คุณละมัยให้กําเนิดบุตรสาว “คุณณิชกานต์ พัฒนพีระเดช”
- เพลิงไหม้, เคราะห์กรรมซ้ําซ้อน, ก้าวเดินครั้งใหม่จากจุดติดลบ
พ.ศ. 2538
– เกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นที่ห้างแฟรี่พลาซ่าในช่วงเช้าตรู่ เปลวไฟเริ่มไหม้จากชั้นล่างสุดจนขึ้นไปถึงชั้นบนสุด การขนส่ง
น้ําาดับเพลิงเป็นไปอย่างล่าช้าจนไฟลุกลามยาวนานเกินความคาดหมายของทุกๆฝ่าย
– สุดท้ายหลังจากเวลาผ่านไปเนิ่นนาน ห้างแฟรี่พลาซ่าโครงการสองรวมถึงบ้านหลังใหญ่ของครอบครัวแฟรี่ที่อยู่บน ตัวห้างก็ถูกไฟไหม้จนหมดสิ้น เหลือเพียงพื้นที่โซนพลาซ่าที่รอดพ้นจากเปลวเพลิง
– สองวันหลังจากไฟไหม้ คุณโฉมณีให้กําเนิดบุตรชาย “คุณนราธร เจริญธัญรักษ์”
– ครอบครัวแฟรี่ต้องแยกย้ายกันไปพักอาศัยชั่วคราวอยู่ที่บ้านตระกูลรักสุจริตของคุณอรวรรณและบ้านเจริญธัญรักษ์ ของคุณเลิศชัย ในภายหลังตระกูลรักสุจริตให้ครอบครัวแฟรี่ใช้ตึกราชา เรียลเป็นที่พักชั่วคราวของครอบครัวแฟรี่ทั้งตระกูล
– ด้วยความที่หนี้ธนาคารในตอนนั้นมีอยู่สูงถึง 600 ล้านบาท เงินประกันที่ได้จากเหตุไฟไหม้ซึ่งมีเพียงแค่ 237 ล้านบาท
ถูกนําไปใช้ชําระหนี้จนหมด
– ในส่วนของหนี้ที่เหลืออีกมากกว่า 300 ล้านนั้น ครอบครัวแฟรี่ได้ปรึกษาหารือกัน ว่าสามารถนําทรัพย์สินที่มีเหลืออยู่ ทั้งหมดของตระกูลมาตีมูลค่าแล้วชดใช้หนี้ได้ และจะยังเหลือเงินอยู่ราว 50 ล้านเพื่อแบ่งกันในครอบครัวแล้วแยกย้ายกัน ไปตามเส้นทางของใครของมัน หรืออีกทางหนึ่งคือ…
– “ทุกคนจะร่วมสู้ต่อไปด้วยกัน” หลังจากตัดสินใจว่าจะสู้ต่อ จึงกู้เงินทุนก้อนใหม่จากธนาคารมาได้ 250 ล้านบาทด้วย เครดิตดีๆของคุณวรพงษ์ที่สั่งสมมา
– สินค้าบางส่วนที่รอดพ้นจากไฟมาได้ก็นําไปวางขายในราคาถูกโดยขอใช้พื้นที่ของสนามกีฬาจังหวัดขอนแก่นเป็นเวลา 7 วัน หลังจากนั้นก็ไปวางขายต่ออยู่ที่หลักเมืองสแควร์อีกเป็นเวลา 2 เดือน
– ด้วยเงินลงทุน 50 ล้านบาท “แฟรี่พลาซ่าสาขามะลิวัลย์” ก็ถือกําเนิดขึ้นภายใน 39 วันหลังเกิดเหตุไฟไหม้ ที่โกดัง
เก็บสินค้าแห่งหนึ่งบนถนนมะลิวัลย์เพื่อใช้เป็นห้างสรรพสินค้าชั่วคราว
– ในขณะเดียวกัน เงินทุนส่วนที่เหลือก็นําาไปใช้สร้างห้างแฟรี่สาขาใหม่บนที่ดินที่บิดาของคุณอรวรรณเคยแนะนําให้ซื้อไว้
ที่สาขามะลิวัลย์ พี่น้องทุกคนยังคงทํางานในแผนกของตัวเองอย่างแข็งขัน โดยมีคุณละมัยเข้ามาช่วยงานในส่วนของ
แผนกอาหารสดด้วย
ในระหว่างนั้น คุณอรวรรณให้กําเนิดบุตรชายบุตรสาวฝาแฝด “คุณชนิพัฒน์ และ คุณนพัฒน์ พัฒนพีระเดช”
– จากความสู้ไม่ถอยของทุกฝ่าย “ห้างแฟรี่พลาซ่าโครงการ 3″ หรือ “แฟรี่กลางเมือง” ก็ถือกําเนิดขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2539
– คุณชัยณรงค์ในฐานะที่กําลังจะเข้ามาดูแลงานแผนกจัดซื้อแทนคุณอนุชา ได้ไปฝึกงานที่ Big C สาขา
– ราชบูรณะเป็นเวลากว่า 6 เดือน (หลังจากนั้นกลับมาฝึกงานต่อที่ Big C ขอนแก่นต่ออีก 2 เดือนก่อนกลับมาแฟรี่
– ที่แฟรี่กลางเมือง คุณนพดลยังคงเดินหน้าทําโปรเจคท์ต่างๆต่อไป ทั้งโยเก้นฟรุต, กาแฟอะโรม่า, แฟรี่คาร์แคร์, และบริษัทโกลเด้นฮอร์ส (รับทํางานกราฟฟิก, ขายเครื่องเกม, และภายหลังมีขายสินค้าแบรนด์เนมด้วย)
– คุณธราดลก็เริ่มต้นกิจการร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ TTTK และเริ่มเข้าสู่วงการตลาดหุ้นผ่านตัวแทนที่
มาจากบริษัทแอดคินสัน
– ในช่วงเวลานี้ ครอบครัวแฟรี่เริ่มมีความคิดทําโปรเจคท์อื่นๆควบคู่ไปกับการท่าห้าง “ตลาดนัดแฟรี่” จึงถือกําเนิดขึ้น ในปีเดียวกันนี้ แต่ก็อยู่ได้ไม่นานนักก่อนจะเลิกราไป
– นอกจากนี้ ครอบครัวแฟรี่ยังมีความคิดสร้างโรงงานบนที่ดินสวนมะม่วง 17 ไร่ที่บ้านทุ่มที่มีคนนํามาชําระหนี้กับคุณวรพงษ์
เมื่อหลายปีก่อน ในตอนแรกคุณวรพงษ์ตั้งใจไว้ว่าอยากเปิดเป็นโรงงานผลิตกระดาษชําระ
– แต่หลังจากผ่านการกลั่นกรองไอเดียร่วมกันในครอบครัวและเรียนรู้ know-how จากโกเฒ่าห้างยิ่งยงอุบลฯ สุดท้ายจึง
เปลี่ยนเป็นโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติกในชื่อ “แฟรี่พลาสติก”
– คุณวรพงษ์มีความตั้งใจที่จะกลับไปสร้างห้างสรรพสินค้าขึ้นอีกครั้งบนพื้นที่ห้างเก่าที่ถูกไฟไหม้ จึงได้น่าเงิน 12 ล้านบาทไปลงทุนสร้างฐาน เทพื้นไว้เพื่อเตรียมการ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้สานต่อจนจบเพราะ…
– แฟรี่พลาซาสาขามะลิวัลย์ปิดตัวลงในช่วงปีนี้
พ.ศ. 2540
– เกิดเหตุหายนะทางการเงินระดับประเทศ “วิกฤตต้มยํากุ้ง” ที่เกิดจากความไร้ประสิทธิภาพของสถาบันการเงิน
และการฉวยโอกาสโจมตีค่าเงินบาทจากพ่อมดการเงินชาวต่างชาติ จอร์จ โซรอส
– หนี้สินที่ทางแฟรี่มีกับทางธนาคารจํานวน 500-600 ล้านบาท หลังจากฟองสบู่แตก กลับกลายเป็น 700-800 ล้านบาท ด้วยอัตราแลกเปลี่ยน USD ที่พุ่งจาก 25 กลายเป็น 37 บาทภายในชั่วข้ามคืน
– ในช่วงเวลานั้น ธนาคารเองก็ไม่มีกําลังพอที่จะปล่อยเงินกู้ให้ใคร ครอบครัวแฟรี่ต่างก็ท้อใจในเคราะห์กรรมซ้ําซ้อน
แม้แต่เงินค่าไฟหรือเงินเดือนพนักงานก็ยังแทบหามาจ่ายไม่ได้
– คุณอรวรรณให้กําเนิดบุตรสาวคนสุดท้อง “คุณพริมพัฒน์ พัฒนพีระเดช”
พ.ศ. 2541
– คุณละมัยให้กําเนิดบุตรชาย “คุณณัฐชัย พัฒนพีระเดช”
- โอกาสในการเดินหน้าต่อ, โรคร้ายและการจากลา, สู่แนวคิดการลงทุนใหม่ๆ
พ.ศ. 2542
– กิจการครอบครัวแฟรี่เข้าสู่สภาวะวิกฤติอีกครั้งหลังจากดอกเบี้ยที่สั่งสมมาตลอดหลายปีส่งผลให้หนี้สินพุ่งทะยานขึ้น
จนถึงหลัก 1 พันล้านบาท
– ด้วยเหตุนี้ครอบครัวแฟรี่จึงตัดสินใจนํากิจการเข้าสู่ระบบ NPL เพื่อแช่แข็งเงินต้นและดอกเบี้ยไว้ ให้ค่อยๆผ่อนจ่ายได้ ตามกําลังที่มี
– ในช่วงแรก คุณวรพงษ์ที่รักษาเครดิตดีมาทั้งชีวิตไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้เพราะยึดถือในหลักการที่ว่า มีหนี้สินก็ต้องจ่าย
แต่สุดท้ายด้วยความที่หนี้ครั้งนี้ใหญ่เกินกว่าที่จะหาทางออกอื่นได้ ก็ยอมแต่โดยดี
– สถานการณ์ของแฟรี่กลางเมืองในช่วงนั้นยอดขายค่อนข้างเป็นไปด้วยดี ทั้งนี้ทั้งนั้นเพราะคู่แข่งรายอื่นๆล้วนเผชิญ
วิกฤตระดับประเทศนี้อยู่เช่นกัน
– เริ่มโปรเจคท์ “แฟรี่ไนท์บาซ่า” บนพื้นที่ส่วนที่เคยเป็นห้างแฟรี่ทาวน์เก่า ช่วงแรกๆไม่คึกคักจนถึงกับต้องเอา ซุปเปอร์มาเก็ตไปเปิดเพื่อดึงดูดลูกค้า จนอีกสองสามปีให้หลังถึงดีขึ้น
– จากการดูแลแผนกอาหารสดในห้าง คุณละมัยเริ่มสังเกตเห็นโอกาสทางธุรกิจเกี่ยวกับสินค้า Dairy จึงติดต่อซื้อ
แฟรนไชส์ดัชมิลล์มาท่าที่อําาเภอบ้านไผ่เพราะในตอนนั้นอําาเภอเมืองเครือข่ายค่อนข้างแน่นอยู่แล้ว
– คุณนพดลสมรสกับคุณนันทรี ทายาทตระกูลจรัสดํารงนิตย์ เจ้าของธุรกิจร้านเพชรเสรีจากอุบลฯ เปิดสาขาร้านเพชรเสรี ในห้างแฟรี่กลางเมืองและเปิดร้านกาแฟเดอฮาว เพื่อหนุนเสริมกิจการแฟรี่คาร์แคร์
พ.ศ. 2543
– คุณพีระพลดำรงค์เป็นนายกเทศมนตรีนครขอนแก่น (16 พ.ย.43)
– ธุรกิจครอบครัวแฟรี่เริ่มไปได้ดีจนพอมีเงินเหลือหลังจากชําระผ่อนจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยบริษัทบริหารสินทรัพย์
ที่ประชุมครอบครัวหารือได้ข้อสรุปกันว่า จะนําเงินส่วนนี้ไปลงทุนทําธุรกิจแบบใช้เงินสร้างเงินตามแนวทางที่ได้
จากหนังสือพ่อรวยสอนลูก
– แนวคิดนี้ทําให้ในที่สุดครอบครัวแฟรี่เริ่มลงทุนกับธุรกิจอสังหาฯอย่างจริงจัง ไม่ยึดติดกับธุรกิจห้างอย่างเดียวอีกต่อไป เริ่มต้นด้วยการซื้อห้องคอนโดให้เช่า 3 ห้องที่เชียงใหม่ และอีก 1 ห้องที่ศรีราชา
– คุณวรพงษ์ตรวจพบมะเร็งร้ายที่บริเวณตับ ครอบครัวตกลงใจให้พาตัวคุณวรพงษ์ไปทําการรักษาที่ประเทศจีน
โดยมีคุณโฉมณีเป็นคนดูแล
พ.ศ. 2544
– ครอบครัวแฟรี่ อคอนโดให้เช่า 1 ห้องที่สมคิดคอนโดแถวชิดลม
– คุณธราดลสมรสกับคุณอายุภา ทายาทตระกูลอุเทนพัฒนันท์
– หลังจากต่อสู้กับมะเร็งร้ายมานาน คุณวรพงษ์ก็จากไปในวัย 72 ปีท่ามกลางความโศกเศร้าเสียใจของทุกคน หากแต่
เจตนารมณ์ในการนําพาครอบครัวมุ่งต่อไปข้างหน้านั้นได้ถูกส่งต่อให้ลูกๆทุกคนแล้ว
พ.ศ. 2544
– คุณเอกลักษณ์ บุตรชายคนโตของคุณโฉมสุดาและคุณอนุชา จบการศึกษาคณะแพทยศาสตร์ เริ่มทํางานใช้ทุนในฐานะ
อายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์
-พ.ศ. 2545
– แฟรี่กลางเมืองเปิดโรงหนัง
– คุณนันทรีให้กําาเนิดบุตรชาย “คุณอิทธิกร พัฒนพีระเดช”
– แฟรี่ได้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนกับช่องเคเบิ้ล KTV
– คุณธราดลเริ่มทําธุรกิจร้านถ่ายรูป “U-Smile Photo” ในห้าง
– ครอบครัวแฟรี่ ออพาทเม้นให้เช่าที่ซอยปฎิพัทธ์ 25 สะพานควาย
- คู่แข่งรายใหญ่มาเยือน, แผนการรับมือ & ลดแรงกระแทก พ.ศ. 2546
อลงกต.
– คุณละมัยให้กําเนิดบุตรสาวคนสุดท้อง “คุณณิชา พัฒนพีระเดช”
– คุณนันทรีให้กาเนิดบุตรสาว “คุณโยษิตา พัฒนพีระเดช”
– ครอบครัวแฟรี่ ออพาทเม้นให้เช่าที่นวนคร
พ.ศ. 2547
– ครอบครัวแฟรี่สร้างอพาทเม้นให้เช่าขึ้นบนพื้นที่หอพักหญิงเก่า ซ้อเยื้อง
พ.ศ. 2548
– จากข่าวที่ได้ยินว่า ห้างเซ็นทรัลจะมาเปิดสาขาที่ขอนแก่น แฟรี่กลางเมืองจึงเตรียมรับแรงกระแทกโดยเริ่มจากเลิกท่า ซุเปอร์มาเก็ตแล้วให้โลตัสมาบริหาร รับรายได้เป็นค่าเช่าแทน ด้วยเหตุนี้ คุณอนุชาจึงได้เปลี่ยนจากการดูแลแผนกจัดซื้อมาดูแลด้านจัดรายการและงานแผนกเครื่องเขียนแทน
– ครอบครัวแฟรี่ซื้ออพาทเม้นให้เช่า 3 ตึกที่คลองหก ( ตึกเหลืองถาวร )
พ.ศ. 2549
– คุณเอกลักษณ์สมรสกับคุณศิริเพ็ญ แพทย์หญิงเฉพาะทางด้านหู-คอ-จมูก
ยอดขายของแฟรี่กลางเมืองพุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุด ด้วยตัวเลขยอดขายระดับนี้ การมาของเซ็นทรัลจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
– ด้วยสัมพันธ์อันดีที่ทางแฟรี่มีกับเซ็นทรัลตั้งแต่ครั้งร่วมทุน CPN ขอนแก่นและร่วมทุนในห้างแฟรี่พลาซ่าสาขาเก่าที่ถูก ไฟไหม้ไป สิ่งนี้จึงเป็นสะพานปูทางไปสู่การเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนกับเซ็นทรัลสาขาขอนแก่น
(จดทะเบียนไว้ตั้งแต่ปี 2537 เพิ่มทุนเป็น 2 พันล้านบาท)
– คุณละมัยซื้อแฟรนไชส์ธุรกิจโรงเรียนสอนพิเศษ “คุมอง” ตึกแถว 6
พ.ศ. 2550
– ในวันที่เซ็นทรัลประชุมแบ่งพื้นที่ในแบบแปลนห้าง คุณโฉมสุดาขอพื้นที่ส่วนหนึ่งเพื่อทําโชนขายเสื้อผ้าแบบ
ในห้างแพลตตินั่ม F4
– คุณอลงกต บุตรชายคนรองของคุณโฉมสุดาและคุณอนุชาจบการศึกษาจากประเทศออสเตรเลีย เริ่มหางานฝ่ายขายใน บริษัทส่งออกผลไม้กระป๋อง “กุยบุรีฟรุตแคนนิ่ง” ที่กทม.
พ.ศ. 2551
– โครงการแพลตตินั่มได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงแบ่งขายพื้นที่ในแบบแปลน ถูกจับจองจนหมดอย่างรวดเร็ว
– คุณโฉมสุดา เป็นนายกสมาคมซอนด้าเป็นเวลา 2 ปี
– แฟรี่กลางเมืองลงทุนรีโนเวทปรับโฉมห้างใหม่หมด คิดเป็นเงินกว่า 50 ล้าน เพื่อให้พร้อมรับแรงกระแทกก่อนเซ็นทรัลมา พ.ศ. 2552
– ครอบครัวแฟรี่ อเอเว่อกรีน อพาทเม้นให้เช่าในถนนเพชรบุรี ซอย 7
– คุณนพดลเข้ามาดูแลแผนกการตลาดของแฟรี่เต็มตัวอีกครั้งหลังจากคุณโฉมสุดา
– เซ็นทรัลสาขาขอนแก่นเปิดตัวในปีนี้ แต่โซนแพลตตินั่มประสบปัญหายอดขายตกต่ําาจนต้องปิดตัวลงไปภายใน 6 เดือน
– แฟรี่กลางเมืองเองก็ได้รับผลกระทบหนักจากการที่มีเซ็นทรัลมา แต่เพราะครอบครัวแฟรี่เปลี่ยนแนวทางทําธุรกิจไป ลงทุนกับสินทรัพย์อสังหาฯต่างๆมาก่อนแล้วจึงพอมีรายได้จุนเจือต่อไป
– คุณศิริเพ็ญให้กาเนิดบุตรสาว “คุณวาสิตา วโนทยาโรจน์” ลูกหลานรุ่น 4 คนแรกของตระกูล
พ.ศ. 2553
– คุณอลงกตออกจากบริษัทกุยบุรีฟรุตแคนนิ่ง ร่วมกับหุ้นส่วนเปิดบริษัท JA Interfoods ท่าธุรกิจตัวแทนติดต่อ ซื้อขายส่งออกสินค้าอาหารแปรรูป
– คุณภูมินทร์ บุตรชายคนสุดท้องของคุณโฉมสุดาและคุณอนุชา จบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ เริ่มต้นท่างานที่ บริษัท iProspect ที่กทม. ท่าธุรกิจด้าน Digital Marketing
ปลดโซ่ตรวน, พานพบหุ้นส่วนใหญ่, เส้นทางธุรกิจสายใหม่
– หลังจากอยู่ในสภาวะ NPL มายาวนานต่อเนื่องกว่า 10 ปี ครอบครัวแฟรี่ก็สู้ทนมาตลอดจนพ้นจากสภาวะ NPL ในปีนี้
– คุณภูมินทร์ออกจากบริษัท iProspect เข้าทํางานในบริษัท Digital Marketing แห่งใหม่ “TMD Space
– หลังจากนั้นคุณภูมินทร์ออกจากบริษัท TMD Space เพื่อเริ่มกิจการ Digital Marketing เป็นของตัวเองในชื่อ “Appzilla”
พ.ศ. 2555
– คุณโฉมสุดา ได้รับตําแหน่งนายกสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนฮั่วเคี้ยววิทยาลัย
– ธนาคารกรุงเทพประกาศขายที่ดินใหญ่ริมถนนมิตรภาพ 2 แปลง แปลงละประมาณ 90 และ 100 ไร่
– กลุ่มวราสิริ เจ้าของธุรกิจใหญ่ในขอนแก่นทราบเรื่องที่ดินผืนนี้ และด้วยความนับถือส่วนตัวที่มีต่อคุณดํารง ศิริธนชัย อดีตหุ้นส่วนโรงแรมแก่นอินน์ของคุณวรพงษ์ ครอบครัวแฟรี่จึงตกลงร่วมทุน 500 ล้านบาทกับวราสิริซื้อที่ดินผืนนี้
– เบี้องต้นทางวราสิริคิดอยากชวนครอบครัวแฟรี่ทําห้างสรรพสินค้าแห่งใหม่ แต่ทางแฟรี่ได้ปฏิเสธไปเพราะธุรกิจ
ห้างสรรพสินค้าเลยจุดอิ่มตัวมาไกลแล้ว
– หลังจากศึกษาไอเดียมามากมาย สุดท้ายหุ้นส่วนแฟรี่-วราสิริตกลงท่าธุรกิจตลาด Community Market ร่วมกันบน
หนึ่งในที่ดินที่ซื้อไว้ ใช้ชื่อว่า “ตลาดต้นตาล”กรีนมาเก๊ต คุณชุยณรงค์ เป็นผู้ดแล
– แม้ตลาดต้นตาลจะเป็นธุรกิจแนวใหม่แบบที่ครอบครัวแฟรี่ไม่เคยจับต้องมาก่อน แต่ก็ประสบความสําเร็จ
จนกลายเป็นธุรกิจหลักอันใหม่ของครอบครัว
– นอกเหนือจากตลาดต้นตาล หุ้นส่วนแฟรี่-วราสิริยังได้ร่วมกันทำธุรกิจตลาดสดที่ตลาดอ.จิระ
(จดทะเบียนในชื่อ Fairy City Park ทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท)
– ห้างแฟรี่กลางเมืองเองก็ไม่ได้นิ่งเฉยต่อยุคสมัยที่กําลังเปลี่ยนไป คุณโฉมณีได้เริ่มให้ห้างแฟรี่ใช้ระบบ software
ทันสมัยในการทางานของแผนกบัญชี-การเงินเพื่อเตรียมส่งมอบธุรกิจให้คนรุ่นใหม่ต่อไป
– ในช่วงนี้คุณละมัยเริ่มท่าธุรกิจร้านกาแฟ “Coff Tann” ที่ตลาดต้นตาล และยังมีซื้อแฟรนไชส์ชานมไข่มุก ‘มิคุฉะ มาเปิดสาขาที่ตลาดต้นตาลและห้างแฟรี่กลางเมืองอีกด้วย
พ.ศ. 2556
– คุณนพดลได้ร่วมหุ้นกับธุรกิจร้านไวน์/เบียร์นอก “Vino/Brew Beer” ให้มาเปิดสาขาที่ตลาดต้นตาล
พ.ศ. 2557
– แฟรี่-วราสิริร่วมลงทุนก้อนใหญ่อีกครั้ง เปิดศูนย์ค้าส่ง “อู้ฟู่” บนที่ดินอีกแห่งที่ซื้อไว้ใกล้ตลาดต้นตาล
– กิจการตลาดอู้ฟู่แม้จะดําเนินไปอย่างไม่หวือหวาเท่ากับที่ตลาดต้นตาล (ผลกําไรจากการจัดการ – ต่ํา) แต่ใน
มุมมองของนักลงทุนถือว่าได้ผลประกอบการที่คุ้มค่าและมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ
– คุณอลงกตสมรสกับคุณสวิตตา เจ้าของร้านขายเสื้อผ้าในสยาม
เปิดกิจการร้านค้าเสื้อผ้าขายส่ง “Sweeite” ที่ตลาดอู้ฟู่
– คุณสวิตตาเปิดร้านค้ากระเป๋าแบรนด์เนม “High End” ที่ห้างแฟรี่กลางเมือง
– คุณละมัยเลิกกิจการ Coff Tann ในปีนี้
- วาระแห่งการจากลา, ส่งผ่านธุรกิจสู่คนรุ่นใหม่
พ.ศ. 2558
– คุณละมัยเลิกท่ากิจการดัชมิลล์ ขายให้แฟรี่โดยมีคุณธราดลเป็นคนรับผิดชอบดูแล
– คุณศวิตตาเลิกกิจการ Sweetie ) ที่อู้ฟู้
– คุณภูมินทร์สมรสกับคุณศิรินันท์ คู่ชีวิตที่คบหากันมามากกว่า 10 ปี ทั้งคู่ช่วยกันทํางานในบริษัท Appzilla
พ.ศ. 2559
– ครอบครัวแฟรี่ร่วมหุ้นกับกลุ่ม KKTT (ขอนแก่นพัฒนาเมือง16 คน ศึกษารถไฟฟ้ารางเบาให้เมืองขอนแก่น แต่โปรเจคท์นี้ ปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ
– คุณธราดลตรวจพบมะเร็งร้ายในลําไส้ เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
พ.ศ. 2560
– คุณธราดลจากไปด้วยโรคมะเร็งลําาไส้ระยะสุดท้ายท่ามกลางความอาลัยรักของภรรยา ญาติพี่น้อง และลูกน้องคนสนิท งานในส่วนที่คุณธราดลดูแลได้รับการแจกจ่ายให้พี่น้องรับผิดชอบต่อไป โดยมี…
– คุณพีระพลรับช่วงดัชมิลล์มาดูแล แต่หลังจากนั้นไม่นานแฟรี่ก็เลิกทํากิจการนี้
– คุณโฉมณีเข้ามาช่วยดูแลงานแผนกบัญชี
– คุณนพดลรับผิดชอบดูแลงาน Catering
– คุณชัยณรงค์รับงานส่วนของลานเบียร์ตลาดต้นตาลไปดูแล
– ในปีนั้น คุณภูมินทร์เปลี่ยนชื่อบริษัทจาก Appzilla เป็น iGladgets
พ.ศ. 2561
– คุณณิชกานต์ บุตรสาวคนโตของคุณชัยณรงค์และคุณละมัย จบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ กลับมาช่วยงานกิจการ ของตระกูลเป็นคนแรกในหมู่ลูกหลานรุ่น 3
ขอบคุณ
การกล่าวถึงประวัติการทําธุรกิจของครอบครัวเราโดยไม่มีการกล่าวถึงความรู้สึกขอบคุณ ซาบซึ้งในการสนับสนุน อุ้มชู เป็นกําลังใจจากผู้มีอุปการะคุณในขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง ท่าให้ประวัติขาดความงดงาม และความสมบูรณ์แบบ
ตั้งแต่การเริ่มเปิดร้านเป็นระบบห้างไม่มีการต่อรองราคาในปี2521ของแฟรี่ทาวน์ การก่อร่างสร้างตัวของ
แฟรี่พลาซ่าศรีจันทร์ ในปี2530 รวมถึงเหตุการณ์ไฟไหม้ห้างเมื่อปี2538 การได้รับจดหมาย โทรศัพท์กล่าวถึงความผูกพัน และให้กําลังใจจากมวลมิตรรวมถึงลูกค้าที่ไม่รู้จักส่วนตัว บางคนโทรมาเสนอเอาเงินสดมาแทนเซลล์สลิปบัตรเครดิตที่ น่าจะไฟไหม้ไปด้วย และเป็นกําลังใจให้ก้าวเดินต่อไป
ขอบคุณลูกค้าผู้เป็นส่วนสําคัญในการก้าวเดินต่อไปในขณะเผชิญกับคู่แข่งระดับประเทศตั้งแต่ปี2552
ขอบคุณทีมงานจากเซ็นทรัล โดยคุณทศและโรบินสันโดยคุณมานิต อุดมคุณธรรม (เฮียคิม ที่ยกทีมมาช่วยระบบการ จัดการพื้นที่ไฟไหม้ การเจรจาซัพพลายเออร์ รวมถึงให้ทีมก่อสร้างมืออาชีพเข้ามาช่วยสร้างห้างแฟรี่กลางเมืองเสร็จ ภายในเวลา 150วัน